ในบทความนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงสรรพนามในภาษาไทยเดิม (ชื่อเรียกแทนบุคคล ผู้พูดเช่น ฉัน เธอ เขา ฯลฯ) คำเหล่านี้พวกคุณอาจเคยเห็นในนิทาน กาพย์กลอน โคลง ร่าย โบราณๆ หรือนิทานที่เขียนในใบลานตามวัดต่างๆ เป็นต้น
บุคคลที่ ๑
กู - กู, ฉัน, ไม่ถือว่าหยาบคายเหมือนการใช้ในปัจจุบันนี้
เผือ* - กูทั้งสอง (ไม่รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย)
รา* - กูทั้งสอง (รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย)
ตู *- พวกกู (ไม่รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย)
เรา* - พวกเรา (รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย), หรือ กู แบบสุภาพ
สุภาพ
ข้า - กู แบบสุภาพ
เผือข้า - กูทั้งสอง แบบสุภาพ (ไม่รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย)
ราข้า - กูทั้งสอง แบบสุภาพ (รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย)
ตูข้า - พวกกู แบบสุภาพ (ไม่รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย)
เราข้า - พวกเรา แบบสุภาพ (รวมผู้ที่กำลังพูดอยู่ด้วย), หรือ กู แบบสุภาพ
บุคคลที่ ๒
มึง - มึง, เธอ, ไม่ถือว่าหยาบคายเหมือนการใช้ในปัจจุบันนี้
เขือ - มึงทั้งสอง
สู - พวกมึง, หรือ มึง แบบสุภาพ
สุภาพ
เจ้า - มึง แบบสุภาพ
เขือเจ้า - มึงทั้งสอง แบบสุภาพ
สูเจ้า - มึงทั้งสอง แบบสุภาพ, หรือ มึง แบบสุภาพ
บุคคลที่ ๓
มัน - มัน, เขา (๑ คนเท่านั้น)
ขา - มันทั้งสอง
เขา - พวกเขา, พวกมัน, หรือ มัน แบบสุภาพ
สุภาพ
เพื่อน/เพิ่น - มัน แบบสุภาพ
ขาเจ้า - มันทั้งสอง แบบสุภาพ
เขาเจ้า - พวกเขา, พวกมัน แบบสุภาพ, หรือ มัน แบบสุภาพ
* สมมุติแม่มีลูกสองคน เมื่อลูกทั้งสองอยากออกไปเล่นนอกบ้าน พวกเขาจะต้องขออนุญาตแม่ไปเที่ยวดังนี้
ลูกทั้งสอง: แม่ ขอเผือข้า
แม่: ได้ๆ แต่เรา
--------
ความไทเก่า
ในเนื้อความนี้ ข้าจักกล่าวถึงคำร้องชื่อในความไทเก่า (ชื่อร้องแทนผู้คน ผู้ปากจา เช่น กู มึง มัน ฯลฯ) คำเหล่านี้สูเจ้าคงจักเคยเห็นในเรื่องเล่าเก่าๆ บ่ก็เรื่องเล่าอันขีดเขียนในใบลานตามวัดต่างๆ เป็นต้น
ผู้คนที ๑
กู - กู, บ่ถือว่าหยาบคายเหมือนการใช้ยามบัดเดียวนี้
เผือ* - กูทังสอง (บ่รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย)
รา* - เราทังสอง (รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย)
ตู *- หมู่ฝูงกู (บ่รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย)
เรา* - หมู่ฝูงเรา (รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย), บ่ก็ กู อย่างอ่อนน้อม
อ่อนน้อม
ข้า - กู แบบอ่อนน้อม
เผือข้า - กูทังสอง อย่างอ่อนน้อม (บ่รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย)
ราข้า - เราทังสอง อย่างอ่อนน้อม (รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย)
ตูข้า - หมู่ฝูงกู (บ่รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย)
เราข้า - หมู่ฝูงเรา อย่างอ่อนน้อม (รวมผู้ที่ปากจาอยู่ด้วย), บ่ก็ กู อย่างอ่อนน้อม
ผู้คนที ๒
มึง - มึง บ่ถือว่าหยาบคายเหมือนการใช้ยามบัดเดียวนี้
เขือ - มึงทังสอง
สู - หมู่ฝูงมึง, บ่ก็ มึง อย่างอ่อนน้อม
อ่อนน้อม
เจ้า - มึง อย่างอ่อนน้อม
เขือเจ้า - มึงทังสอง อย่างอ่อนน้อม
สูเจ้า - มึงทังสอง อย่างอ่อนน้อม, บ่ก็ มึง อย่างอ่อนน้อม
ผู้คนที ๓
มัน - มัน, เขา (๑ คนเท่านั้น)
ขา - มันทังสอง
เขา - หมู่ฝูงเขา, หมู่ฝูงมัน, บ่ก็ มัน อย่างอ่อนน้อม
อ่อนน้อม
เพื่อน/เพิ่น - มัน อย่างอ่อนน้อม
ขาเจ้า - มันทังสอง อย่างอ่อนน้อม
เขาเจ้า - หมู่ฝูงเขา, หมู่ฝูงมัน อย่างอ่อนน้อม, บ่ก็ มัน อย่างอ่อนน้อม
* ครันว่าแม่มีลูกสองคน เมื่อลูกทังสองอยากออกไปเหล้นนอกเรือน เขาจักต้องขอแม่ไปเที่ยวดั่งนี้
ลูกทังสอง: แม่ ขอเผือข้า
แม่: ได้ๆ แต่เรา